สื่อประเภทเสียง


ความหมาย
    วัสดุอุปกรณ์ที่ช่วยในการถ่ายทอดและบันทึกเสียงของผู้สอนและเสียงอื่น ๆ โดยใช้หูในการสัมผัสโดยการรับฟัง เพื่อความเข้าใจ สัมผัสถึงอารมณ์หรือหรือรู้  เพื่อจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
 
ลักษณะเฉพาะ
  1. เป็นการสื่อสารทางเดียวระหว่างสื่อกับผู้เรียน
  2. การรับรู้ผ่านการสัมผัสทางหูเพียงช่องทางเดียว
คุณสมบัติ
     สามารถนำมาทบทวนได้อีกในเวลาที่ต้องการ เกิดความรู้ความเข้าใจได้อย่างละเอียด
 
สถานการณ์ที่เหมาะสมในการใช้สื่อ
  1. ห้องกว้าง
  2. มีคนจำนวนมาก
  3. ศึกษาทางไกล
     
ข้อบ่งใช้ / วิธีการใช้
  1. ใช้ในการเรียนการสอนที่มีผู้เรียนจำนวนมากในห้องเรียนขนาดใหญ่ ซึ่งผู้สอนไม่สามารถพูดให้ผู้เรียนได้ยินทั้งชั้นเรียน
  2. ใช้ในกรณีที่มีการเรียนการสอนหลาย ๆ ห้องพร้อม ๆ กัน
  3. ใช้ในห้องปฏิบัติการทางภาษา เพื่อใช้ในการฝึกทักษะการฟัง และพูด
    เช่น ในการเรียนภาษาอังกฤษ
  4. ใช้ในห้องปฏิบัติการด้านดนตรี

ผลที่เกิดกับผู้ใช้สื่อ
  1. เกิดความสะดวกสบาย
  2. เรียนรู้อย่างรวดเร็ว
  3. ประหยัดเวลาในการเรียนการสอน
ผลที่เกิดกับผู้เรียน
  1. ทำให้ผู้เรียนรับรู้ได้หลายช่องทาง เข้าใจง่ายได้ง่าย
  2. สะดวกต่อการเรียนรู้ 
  3. ประหยัดเวลา
จุดเด่นของสื่อ
  1. สามารถใช้กับผู้เรียนกลุ่มเล็กกลุ่มใหญ่หรือรายบุคคล
  2. ระยะกระจายเสียงกว้างและถ่ายทอดได้ในระยะไกลๆ
  3. ลดภาระของผู้สอนหรือผู้บรรยายในการเดินทางไปสอนในที่ต่างๆ 
  4. สามารถให้ความรู้แก่ผู้ทีไม่สามารถอ่านเขียนนจากใช้ทักษะในการฟังเพียงอย่างเดียว 
  5. ดึงดูดความสนใจได้ดี
จุดด้อยของสื่อ
  1. ต้องใช้ห้องที่ทําขึ้นเฉพาะเพื่อการกระจายเสียง
  2. ผู้ฟังหรือเรียนต้องปรับตัวเข้าหารายการเนื่องจากผู้บรรยายไม่สามารถปรับตัวเข้าหาผู้ฟังได้
  3. เป็นการสื่อสารทางเดียวทําให้ผู้บรรยายไม่สามารถทราบปฏิกิริยาสนองกลับของผู้ฟัง
  4. การบันทึกเสียงที่คุณภาพดี จำเป็นต้องใช้ห้องและอุปกรณ์ทีดี มีคุณภาพสูง 
  5. ต้องมีความชำนาญพอสมควร
  6. ต้องระมัดระวังในการเก็บรักษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น