สื่อมัลติมีเดีย

 
ความหมาย
    การนำสิ่งหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหาและในปัจจุบันมีการนำ คอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมกันเพื่อการผลิตหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในการเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว แบบวีดีทัศน์ 

ลักษณะเฉพาะ

  1. สารสนเทศ เนื้อหาสาระที่ได้รับการเรียบเรียงแล้วเป็นอย่างดีทำให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้าางได้กำหนดวัตถุ ประสงค์ไว้ โดยอาจจะนำเสนอในลักษณะทางตรงและทางอ้อมก็ได้
  2. ควมแตกต่างระหว่างบุคคล-ความแตกต่างระหว่างบุคคลทั้งจากบุคลลิกภาพ สติปัญญา ความสนใจ พื้นฐานความรู้ คือลักษณะสำคัญของสื่อมัลติมีเดีย โดยผู้เรียนเกิดการตอบโต้ ระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ อย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้เรียนได้ใช้เวลาในส่วนของการสน้างความคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ เนื้อหาของกิจกรรมนั้นๆ
  3. ผลการตอบรับทันที
คุณสมบัติ
  1. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามทศักยภาพ ตามความคิดและความสะดวก
  2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
  3. ผู้สอนสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อเนื้อหาใหม่ๆ เพื่อฝึกฝนและเพื่อสอนการแก้ปัญหาทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การนำไปใช้
  4. สนับสนุนการเรียนที่ไม่จำกัดแต่ในห้องเรียน อาจเรรียนรูได้จาก ที่บ้าน ห้องสมุด หรือสภาพทดลอง
  5. ใช้กับผู้เรียนได้ทุกระดับอายุ และระดับความรูและที่สำคัฯเหมาะกับผู้เรียน 
สภาพที่เหมาะสมกับการใช้สื่อ

    1. การเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เสมือนจริง
    2. การเรียนรู้ที่ผูเรียนสามารถสัมผัสได้ใกล้เคียงกับประสบการณ์
    3. ต้องการอธิบายรายละเอียดของข้อมูล เช่นการจำลองหุ่นเพื่อศึกษาอวัยวะต่างๆ
    4. สถานการณ์ที่ผู้เรียนนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองนอกห้องเรียน
    ข้อบ่งใช้ / วิธีการใช้สื่อ
    1. ใช้เป็นเครื่องมือในการสืบค้น
    2. ใช้เพื่อเชื่อมโยง
    3. ใช้ในการสร้างบทเรียน 
    ผลที่เกิดกับผู้เรียน

      1. สื่อมัลติมีเดียเป็นสื่อการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตน เองตามศักยภาพ ความต้องการและความสะดวกของตนเอง สามารถสร้างสถานการณ์จำลอง จำลองประสบการณ์ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อให้เกิดการ เรียนรู้ด้วยตนเอง
      2. สื่อมัลติมีเดียช่วยสนับสนุนให้มีสถานที่เรียนรู้ไม่จำกัดอยู่เพียงในห้อง เรียนเท่านั้น ผู้เรียนว่างเรียนที่บ้านห้องสมุดหรือตามสภาพแวดล้อมอื่นๆ ตามเวลาที่ต้องการ
      3. ในปัจจุบันมีโปรแกรมช่วนสร้างบทเรียนที่ง่ายต่อการใช้งานทำให้บุคคลที่สนใจทั่วไปสามารถสร้างบทเรียนสื่อมัลติมีเดียใช้เองได้
      ผลที่เกิดกับผู้ใช้สื่อ

      1. ผู้สอนสามาถใช่สื่อมัลติมีเดยเพื่อนสอนเนื้อหาใหม่ เพื่อการฝึกฝน เพื่อเสนอสถานการณ์จำลองและเพื่อสอนการคิดแก้ปัญหาทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุ ประสงค์ของการนำไปใช้เป็นประการสำคัญ รูปแบบต่างๆดังกล่าวนี้ส่งผลดีต่อการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้และรูปแบบการคิดหาคำตอบ
      2. เทคโนโลยีสื่อมัลติมีเดีย สนับสนุนให้เราสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียกับผู้เรียนได้ทึกระดับและความรู้ หลักสำคัญอยู่ที่การออกแบบให้เหมาะกับผู้เรียน
      3. สื่อมัลติมีเดียที่มีคุณภาพ นอกจากจะช่วยให้เกิดความคุ้มค่าใในการลงทุนของโรงเรียนหรือหน่วยงานแล้วความ ก้าวหน้าของระบบเครือข่าย ยังช่วยส่งเสริมให้การใช้สื่อมัลติมีเดียเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาอื่นๆ
      จุดเด่นของสื่อ
      1. ปลอดภัย
      2. ให้รายละเอียดที่กว้างขว้าง จัดเตรียมให้นักเรียนได้มีโอกาสค้นหาสถานที่ที่ไม่มีทางจะเป็นไปได้ในโลกแห่งความเป็นจริง
      3. โอกาสในการค้นหา ความเป็นจริงเสมือนยินยอมให้ผู้เรียนทดลองกับสภาพแวดล้อมสถานการณ์จำลอง
      จุดด้อยของสื่อ
      1. ค่าใช้จ่าย อุปกรณ์ราคาแพง
      2. ยุ่งยากซับซ้อน เทคโนโลยียุ่งยากซับซ้อนไม่เหมาะสมให้ยืมใช้ในห้องเรียน
      3. หัวข้อจำกัด ในโลกปัจจุบันนี้มีโปรแกรม ที่เป็นไปได้จริงจำนวนจำกัด

      สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ออฟไลน์

      ความหมาย 
           สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมกัน ได้แก่ ข้อความ กราฟฟิก แผนภูมิ กราฟวีดิทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนหรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับการสอน จริงในห้องเรียนมากที่สุด ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้

      ลักษณะเฉพาะ
      1. ไม่ใช้กระดาษ (อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้)
      2. สามารถสร้างให้มีภาพเคลื่อนไหวได้
      3. สามารถใส่เสียงประกอบได้
      4. สามารถแก้ไขปรับปรุงข้อมูล ได้ง่าย
      5. สามารถ link ไปยังข้อมูลภายนอกได้
      6. ลดต้นทุนการผลิตหนังสือ
      7. สามารถอ่านผ่านคอมพิวเตอร์ได้
      คุณสมบัติเฉพาะ
      1. สามารถอ่านผ่านคอมพิวเตอร์ได้
      2. สามารถแก้ไขปรับปรุงข้อมูลได้ง่าย
      3. ไม่ใช้กระดาษ
      4. ลดต้นทุนในการผลิต
      5. สร้างภาพเคลื่อนไหวได้
      6. ใส่เสียงประกอบได้

      สถานการณ์ที่เหมาะสมในการใช้สื่อ 
           สามารถใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา ที่มีคอมพิวเตอร์ เมื่อสนใจจะศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ

      ข้อบ่งชี้ / วิธีการใช้สื่อ
           ใช้ในการเรียนรู้อย่างอิสระ โดยผ่านคอมพิวเตอร์ เลือกเวลาการใช้ตามความสะดวกของผู้ใช้

      ผลที่เกิดกับผู้ใช้สื่อ
           เป็นอีกทางเลือกที่ครูผู้สอนสามารถใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน ใช้แก้ปัญหา หรือส่งเสริมพัฒนาการเรียนการสอน เป็นสื่อที่ยึดผู้เรียน และผู้สอน ใช้สื่อที่มีความหลากหลาย และเป็นสื่อด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ การสร้างสื่อประเภทคอมพิวเตอร์ออฟไลน์ลงทุนไม่มาก ยังเป็นสื่อการเรียนการสอนที่เป็นเครื่องมือส่งเสริม สนับสนุน การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนเข้าถึงความรู้

      ผลที่เกิดกับผู้เรียน 
           ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน ที่สนับสนุนการเรียนให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาวิชา ได้เร็วและดีขึ้น มีลักษณะไม่ตายตัว สามารถแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
       
      จุดเด่นของสื่อ
      1. ลดชั่วโมงสอน ลดเวลาที่ครูจะต้องติดต่อกับผู้เรียน
      2. ครูมีเวลาศึกษาตำรา งานวิจัยและพัฒนาความสามารถ
      3. ใช้โอกาสในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ
      4. ดึงดูดความสนใจในบทเรียน
      5. สร้างบทเรียนเป็นรูปธรรม มองเห็น concept ชัดเจน
      6. ทำให้การเรียนรู้ใช้เวลาน้อยลง
      7. มีการตอบสนอง กระตุ้น เสริมแรง ทำให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น
      8. สามารถเรียนได้หลายครั้ง
      9. สร้างบทเรียน แบบฝึกหัด เกม ผู้เรียนเกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนาน
      จุดด้อยของสื่อ
      1. ราคาอุปกรณ์ที่ใช้ค่อนข้างสูง อาจไม่เพียงพออต่อความต้องการ
      2. นักเรียนต้องมีพื้นฐานในการใช้คอมพิวเตอร์พอสมควร
      3. นักเรียนจ้องจอภาพมากๆ อาจเกิดการเบลอได้
      4. คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ไม่ทันสมัย เช่น จอขาวดำ ไม่มีการ์ดเสียง ไม่มีเครื่องอ่านแผ่นซีดี เป็นต้น
      5. ผู้ผลิตสื่อไม่มีความสามารถ โปรแกรมมีปัญหา

      สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ออนไลน์


      ความหมาย
            การนำข้อมูลต่าง ๆ มาเผยแพร่และใช้ในการเรียนการสอน โดยผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน โดยอาศัยการเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งสามารถพุดคุย และแลกเปลี่ยนความรู้กันได้ ระหว่างผู้ใช้งานทั้งในรูปแบบเวลาเดียวกัน และแบบต่างเวลา อีกทั้งยังสามารถแตกแขนง ไปในเนื้อหาประเภทต่าง ๆ มากมาย ตามความต้องการของผู้ใช้

      ลักษณะเฉพาะ 
           การใช้สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ผู้ใช้สามารถเรียนรู้ได้อย่างไร้ขอบเขต ไม่ว่าจะเป็น ที่บ้าน ที่ทำงาน ห้องเรียน หรือที่อื่น ๆ ซึ่งทำให้การเรียนรู้ไม่ถูกจำกัดกับสถานที่ และกาลเวลา นอกจากนั้นระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ยังมีการพัฒนาข้อมูลขึ้นมาใหม่อยู่ตลอด และเวลารวดเร็ว ซึ่งเป็นการขยายโอกาสในการเรียนรู้ กับผู้ใช้ได้ทั่วโลก ทำให้เกิดการร่วมมือกันระหว่างผู้ใช้ ก่อให้เกิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ

      คุณสมบัติ
           สามารถใช้เรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ประหยัดทุนและใช้งานได้ทำง่ายสะดวกรวดเร็วนอกจากนั้นเชื่อมโยงความรู้ไป ลิงค์ต่างๆได้

      สถานการณ์ที่เหมาะสมในการใช้สื่อ
      1. ผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนได้ทบทวนเนื้อหาได้ตลอดเวลา ผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยตลอดเวลา
      2. มีผู้เรียนจำนวนมาก

      ข้อบ่งชี้ / วิธีการใช้สื่อ 
           ผู้ใช้งานจะใช้งานส่วนใหญ่ผ่านอินเตอร์เน็ตในรูปแบบของเว็บบราวเซอร์ โดยสามารถแสดงความคิดเห็นและเชื่อมโยงข้อมูลไปที่ต่าง ๆ ได้ ซึ่งยังสามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังที่อื่นๆ ได้

      ผลที่เกิดกับผู้ใช้สื่อ 
           สามารถใช้งานง่าย ไม่จำเป็นต้องอาศัยความชำนาญ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้หลากหลาย รวมทั้งยังเชื่อมโยงข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ได้ ผู้ใช้สามารถปรับปรุงข้อมูลได้ง่าย และรวดเร็ว และสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลต่างๆ ได้

      ผลที่เกิดกับผู้เรียน 
           สามารถเรียนรู้ทุกอย่างผ้านอินเตอร์เน็ตได้ง่าย และผู้สอนก็สามารถนำอินเตอร์เน็ตมาใช้ในการพัฒนาความรู้เพื่อพัฒนาการเรียน การสอน ที่สำคัญ คือ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา และไม่จำกัดอยู่ภายในห้องเรียน
       
      จุดเด่นของสื่อ
      1. ผู้เรียนใช้งานได้ทุกทีทุกแห่ง
      2. มีเนื้อหายืดหยุ่นและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเนื้อหาได้ตลอด
      3. การปรับปรุงข้อมูลทันสมัยสามารถทำได้ง่าย
      4. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
      จุดด้อยของสื่อ
      1. การออกแบบบทเรียนผู้ผลิตสื่อมีน้อย
      2. ผู้ใช้ต้องอาศัยความชำนาญในระดับหนึ่ง
      3. ทำให้ผู้เรียนไม่มีความคิดสร้างสรรค์ในการคิดแบบใหม่
      4. ผู้เรียนต้องมีความรู้พื้นฐานในการใช้สื่อ

      สื่อประเภทกิจกรรม

      ความหมาย
           กระบวนการเรียนการสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการลงมือกระทำ สื่อการสอนมีความหมายกว้างขวาง ครอบคลุมทั้งวัสดุอุปกรณ์ และวิธีการต่างๆ ที่นำเอามาใช้ เพื่อถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ให้กับผู้เรียน กิจกรรม หรือวิธีการ นำเป็นสื่อการสอนที่มีกายภาพสูงต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้บทเรียนดำเนินไปอย่างสนุกสนาน


      ลักษณะเฉพาะ
      1. เป็นสื่อประเภทที่ต้องใช้การฟัง การดู การสัมผัสแตะต้อง 
      2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นๆ เพื่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สมบูรณ์ 
      3. เป็นสื่อที่ต้องมีการวางแผนหรือเตรียมการ เพื่อลำดับไปตามขั้นตอน ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจได้ง่าย ชัดเจน 
      4. เป็นสื่อที่ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งวิทยากรโดยตรง 
      5. เป็นสื่อลักษณะรูปธรรม
      คุณสมบัติ
      1. ได้รับประสบการณ์ตรง
      2. เข้าใจง่าย
      3. สนุกสนาน น่าสนใจ
      4. ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ชัดเจน
      5. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
      6. ฝึกให้คิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและการตัดสินใจ 
      สภาพการณ์ที่เหมาะสมในการใช้สื่อ
      1. จะใช้สื่อกิจกรรมเมื่อเข้าสู่บทเรียนที่มีเนื้อหาซับซ้อน เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาง่ายยิ่งขึ้น
      2. ใช้สื่อกิจกรรมเมื่อผู้เรียนเกิดความสนใจ อยากเรียนรู้
      3. ใช้สื่อกิจกรรมเมื่อมีเวลาและสถานที่ที่เหมาะสมต่อกิจกรรม
      ข้อบ่งใช้ / วิธีการใช้สื่อ 
      1. ใช้สื่อให้เหมาะสมกับ เนื้อหา ระดับสติปัญญา และตามจุดประสงค์การเรียนรู้
      2. ใช้สื่อที่ไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย
      3. ใช้สื่อกิจกรรมให้เหมาะสมกับเวลา
      ผลที่เกิดกับผู้ใช้สื่อ
      1. ผู้สอนสามารถสรุปเนื้อหาจากสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่ายขึ้น
      2. ผู้เรียนสามารถรับรู้ข้อมูล ข้อความต่างๆได้พร้อมและเหมือนกัน
      3. ส่งเสริมสนับสนุนการทำงานเป็นทีม ซึ่งมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากกว่าการทำงานเดี่ยว
      4. กิจกรรมช่วยดึงดูดความสนใจจากผู้เรียน
      5. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีโอกาสฝึกทักษะการสื่อสาร การแก้ปัญหา การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การหาข้อมูลสรุปเมื่อมีความขัดแย้ง
      ผลที่เกิดกับผู้เรียน
      1. กิจกรรมจะเป็นทางการนำความรู้จากหลายวิชามาบูรณาการ ทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในทางการศึกษา
      2. ผู้เรียนสามารถลดความตึงเครียดในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
      3. ฝึกให้ผู้เรียนกล้าแสดงออกมากขึ้น
      4. กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมมากยิ่งขึ้น
      5. รู้จักคิดวิเคราะห์ วิจารณ์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และฝึกฝนแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
      6. ไม่เบื่อหน่ายในการเรียน
      จุดเด่นของสื่อ
      1. ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง และเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม
      2. เป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน มีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูง
      3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนฝึกทักษะในด้านต่างๆ เช่น การพูด การแสดงออก ฯลฯ
      4. เป็นวิธีสอนที่ไม่จำกัดผู้เรียน
      5. ดึงดูดความสนใจจากผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
      6. เป็นวิธีสอนที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์
      7. เป็นวิธีสอนที่ทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหา ที่มีความซับซ้อนได้ง่ายขึ้น
      8. เป็นวิธีสอนที่ฝึกให้ผู้เรียนเคารพในกฎกติกาของแต่ละกิจกรรม
      9. ทำให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน
      จุดด้อยของสื่อ
      1. กิจกรรมการสอนใช้เวลาจัดกิจกรรมนานมาก
      2. เป็นวิธีสอนที่มีค่าใช้จ่ายสูง
      3. ผู้สอนต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมนั้นๆ เป็นอย่างดี
      4. เป็นวิธีสอนที่มีการประเมินผู้เรียนยากกว่าวิธีการสอนแบบอื่นๆ
      5. เป็นวิธีสอนที่ใช้พื้นที่ในการจัดกิจกรรมมากเป็นพิเศษ 

        สื่อประเภทเสียง


        ความหมาย
            วัสดุอุปกรณ์ที่ช่วยในการถ่ายทอดและบันทึกเสียงของผู้สอนและเสียงอื่น ๆ โดยใช้หูในการสัมผัสโดยการรับฟัง เพื่อความเข้าใจ สัมผัสถึงอารมณ์หรือหรือรู้  เพื่อจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
         
        ลักษณะเฉพาะ
        1. เป็นการสื่อสารทางเดียวระหว่างสื่อกับผู้เรียน
        2. การรับรู้ผ่านการสัมผัสทางหูเพียงช่องทางเดียว
        คุณสมบัติ
             สามารถนำมาทบทวนได้อีกในเวลาที่ต้องการ เกิดความรู้ความเข้าใจได้อย่างละเอียด
         
        สถานการณ์ที่เหมาะสมในการใช้สื่อ
        1. ห้องกว้าง
        2. มีคนจำนวนมาก
        3. ศึกษาทางไกล
           
        ข้อบ่งใช้ / วิธีการใช้
        1. ใช้ในการเรียนการสอนที่มีผู้เรียนจำนวนมากในห้องเรียนขนาดใหญ่ ซึ่งผู้สอนไม่สามารถพูดให้ผู้เรียนได้ยินทั้งชั้นเรียน
        2. ใช้ในกรณีที่มีการเรียนการสอนหลาย ๆ ห้องพร้อม ๆ กัน
        3. ใช้ในห้องปฏิบัติการทางภาษา เพื่อใช้ในการฝึกทักษะการฟัง และพูด
          เช่น ในการเรียนภาษาอังกฤษ
        4. ใช้ในห้องปฏิบัติการด้านดนตรี

        ผลที่เกิดกับผู้ใช้สื่อ
        1. เกิดความสะดวกสบาย
        2. เรียนรู้อย่างรวดเร็ว
        3. ประหยัดเวลาในการเรียนการสอน
        ผลที่เกิดกับผู้เรียน
        1. ทำให้ผู้เรียนรับรู้ได้หลายช่องทาง เข้าใจง่ายได้ง่าย
        2. สะดวกต่อการเรียนรู้ 
        3. ประหยัดเวลา
        จุดเด่นของสื่อ
        1. สามารถใช้กับผู้เรียนกลุ่มเล็กกลุ่มใหญ่หรือรายบุคคล
        2. ระยะกระจายเสียงกว้างและถ่ายทอดได้ในระยะไกลๆ
        3. ลดภาระของผู้สอนหรือผู้บรรยายในการเดินทางไปสอนในที่ต่างๆ 
        4. สามารถให้ความรู้แก่ผู้ทีไม่สามารถอ่านเขียนนจากใช้ทักษะในการฟังเพียงอย่างเดียว 
        5. ดึงดูดความสนใจได้ดี
        จุดด้อยของสื่อ
        1. ต้องใช้ห้องที่ทําขึ้นเฉพาะเพื่อการกระจายเสียง
        2. ผู้ฟังหรือเรียนต้องปรับตัวเข้าหารายการเนื่องจากผู้บรรยายไม่สามารถปรับตัวเข้าหาผู้ฟังได้
        3. เป็นการสื่อสารทางเดียวทําให้ผู้บรรยายไม่สามารถทราบปฏิกิริยาสนองกลับของผู้ฟัง
        4. การบันทึกเสียงที่คุณภาพดี จำเป็นต้องใช้ห้องและอุปกรณ์ทีดี มีคุณภาพสูง 
        5. ต้องมีความชำนาญพอสมควร
        6. ต้องระมัดระวังในการเก็บรักษา

        สื่อประเภทสื่อฉาย


        ความหมาย
        เครื่องฉายที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน ได้แก่   เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายภาพยนต์ เครื่อง ฉายแผ่นใส และเครื่องฉายภาพหรือวัสดุทึบแสง จุดประสงค์ที่สำคัญของการฉาย คือการแสดงให้เห็นการเคลื่อน และแสดงสิ่งที่มีขนาดเล็กให้เห็นเป็นขนาดใหญ่ขึ้น

        ลักษณะเฉพาะ 
        1. เครื่องฉายภาพนิ่ง  จะให้ภาพนิ่งปรากฏบนจอ  ได้แก่  เครื่องฉายสไลด์  เครื่องฉายฟิล์มสตริป  เครื่องฉายภาพทึบแสง  และเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ  (เครื่องฉายภาพโปร่งใส)  เป็นต้น
        2. เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว  ภาพที่ปรากฏบนจอจะทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกว่าเคลื่อนไหวเหมือนภาพที่เป็นจริง  ได้แก่  เครื่องฉายภาพยนตร์  เครื่องฉายฟิล์มลู๊ป  เครื่องฉายภาพดิจิตอล 
        3. เครื่องฉายภาพโปร่งใส  (TransparencyProjector)  ซึ่งวัสดุฉายจะเป็นวัสดุโปร่งใสหรือโปร่งแสง  (TransparencyMaterials)  เช่น เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ  เครื่องฉายสไลด์  เครื่องฉายฟิล์มสตริป  เครื่องฉายภาพยนตร์  และเครื่องฉายไมโครฟิล์ม  เป็นต้น 
        4. เครื่องฉายภาพทึบแสง  (OpaqueProjector)  เป็นเครื่องฉายที่ฉายวัสดุทึบแสงซึ่งแสงจะไม่สามารถผ่านวัสดุฉายได้  แต่จะใช้หลักการสะท้อนของภาพแทน 
        5. เครื่องฉายภาพดิจิตอล(DigitalProjector) เป็น เครื่องฉายที่ใช้วัสดุจัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่าเหมือนกับวัดสุฉายที่เป็นลักษณะโปร่งแสงหรือทึบแสง

        คุณสมบัติ
         
        1. แสดงสิ่งที่มีขนาดเล็กให้เห็นเป็นขนาดใหญ่ขึ้น
        2. มีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่สื่ออื่นไม่สามารถทําได้คือผลในความรู้สึกอารมณ์และสุนทรียภาพแก่ผู้ชมทั้งยังช่วยดึงดูดความสนใจให้ผู้ชมได้ติดตามอย่างตื่นตาตื่นใจและมีประสิทธิภาพเป็นการช่วยในการเรียนการสอน
        สถานการณ์ที่เหมาะสมในการใช้สื่อ
             ใช้ ได้กับจำนวนผู้เรียนน้อยๆ จนถึงจำนวนมาก โดยบรรจุสาระเนื้อหาตามหลักสูตรที่กำหนด ผู้เรียนสามารถยืมไปเรียนเองที่บ้านได้โดยไม่จำกัดเวลา สถานที่ จำนวนครั้งที่เรียน สื่อที่ใช้กันในปัจจุบันแต่มองข้ามความสำคัญเป็นอย่างยิ่งคือโทรทัศน์ นิยมชมกันมาก แต่ไม่ค่อยนิยมนำมาเป็นสื่อการเรียนการสอน เพราะในปัจจุบันนี้มีรายการดีๆ ที่มีคุณภาพมากมายหลายรายการแต่ครูก็มองข้ามไป หากมีโอกาสควรทำการบันทึกไว้ เช่น รายการสารคดี รายการสัมภาษณ์  (วรวิทย์ นิเทศศิลป์.สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้.ปทุมธานี:สกายบุ๊กส์,2551) 

        ข้อบ่งใช้/วิธีการใช้สื่อ
          ควรจัดสถานที่ให้ผู้ที่ชมข้อมูลหรือภาพ บนจอฉายได้จัดเจน ปริมาณของผู้ชมต้องเหมาะสมกับขนาดของจอฉาย

        ผลที่เกิดกับผู้ใช้สื่อ
             สามารถเกิดประสิทธิภาพในการสอนที่เพิ่มมากขึ้นในการใช้นำเสนอข้อมูลทางการศึกษาให้กับผู้เรียน

        ผลที่เกิดกับผู้เรียน
             ผู้เรียนสามารถรับของมูลจากผู้สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความเข้าในเนื้อหาของการเรียนมากขึ้น 

        จุดเด่นของสื่อ
        1. แสดงภาพตามความเป็นจริง  ทำให้จำได้ง่าย
        2. สัมผัสได้ด้วยประสารทสัมผัสทั้ง  จึงเกิดการรับรู้ได้ดี
        3. อยู่ในลักษณะ  มิติ
        4. สามารถจับต้องและพิจารณารายละเอียดได้
        5. เหมาะสำหรับการแสดงสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า  (เช่น  การแสดงอวัยวะ  ภายในของมนุษย์  สัตว์)
        จุดด้อยของสื่อ
        1. การจัดหาลำบาก
        2. บางครั้งราคาสูงเกินไป
        3. ต้องอาศัยความชำนาญในการผลิต
        4. ต้องอาศัยความชำนาญในการผลิต       

        สื่อสิ่งพิมพ์



        ความหมาย
             พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายคำที่เกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ไว้ว่า “สิ่ง พิมพ์ หมายถึง สมุด แผ่นกระดาษ หรือวัตถุใด ๆ ที่พิมพ์ขึ้น รวมตลอดทั้งบทเพลง แผนที่ แผนผัง แผนภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี ใบประกาศ แผ่นเสียง หรือสิ่งอื่นใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกัน”


        ลักษณะเฉพาะ
        1. สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่มีความคงทนถาวร
        2. สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่สามารถเปิดอ่านได้ทุกที่ทุกเวลา
        3. สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่มีความสะดวกสบายต่อการพกพาไปตามสถานที่ต่างๆ
        4. สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่มีเนื้อหาสาระละเอียดมากกว่าสื่ออื่น
        5. สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อทีสามารถใช้เป็นหลักฐานและตรวจสอบข้อเท็จจริงได้
        6. สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่สามรถนำมาทบทวนหรืออ่านกี่รอบก็ได้
        7. สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่ช่วยให้ผู้อ่านสร้างจินตนาการ
        คุณสมบัติ
        1. ใช้ประกอบคำบรรยายในการสอน
        2. ช่วยเป็นแนวทางในการกำหนดเนื้อหาในรูปแบบเดียวกัน
        3. ช่วยให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าได้ตลอดเวลาที่ต้องการและใช้เป็นหลักฐานทางวิชาการ
        4. เป็นสื่อพื้นฐานทางด้านการเรียนการสอน
        5. ใช้เป็นสื่อเพื่อการเผยแพร่โฆษณาประชาสัมพันธ์
        สถานการณ์ที่เหมาะสมในการใช้สื่อ
        1. ใช้สื่อสิ่งพิมพ์ในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ทั้งนี้เพื่อเร้าผู้เรียนให้เกิดความสนใจ และเปลี่ยนพฤติกรรมในเบื้องต้น โดยปรับตนเองให้พร้อมที่จะเรียนรู้บทเรียนใหม่ ซึ่งอาจกระทำได้โดยการรื้อฟื้นความรู้เดิม (assimilation) หรือขยายความรู้เดิม (accommodation) เพื่อนำมาใช้ให้ประสานกันกับความรู้ใหม่ ซึ่งจะเรียนในขั้นต่อไป
        2. ใช้สื่อสิ่งพิมพ์ในขั้นประกอบการสอนหรือขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อ ช่วยให้ความกระจ่างในเนื้อหาที่เรียนหรือทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและเข้าใจข้อเท็จจริงในเนื้อหาอย่างแท้จริงในรูปของการ เกิด Concept เข้าใจหลักการสำคัญ และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในแนวทางที่ดีขึ้นตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ที่ได้กำหนดไว้ 
        ข้อบ่งใช้  / วิธีการใช้สื่อ 
        1. ขั้นเลือกสื่อ การเลือกสื่อให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์ และเลือกสื่อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ 
        2. ขั้นเตรียม ควรจัดเตรียมข้อมูลและเนื้อหาล่วงหน้า
        3. ขั้นใช้สื่อ ให้ผู้สอนใช้นำเข้าสู่บทเรียน และประกอบการอธิบายรายละเอียดของเนื้อหาของเรื่องที่สอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้ เรียนสนใจ และอยากค้นคว้าศึกษาเพิ่มเติม 
        4. ขั้นสรุป ให้ผู้เรียนเป็นผู้สรุป เพื่อประเมินว่าผู้เรียนมีความเข้าใจในบทเรียนนั้นๆ มากน้อยเพียงใด
        ผลที่เกิดกับผู้ใช้สื่อ 
             สามารถผลิตได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องอาศัยความชำนาญ ต้นทุน การผลิตถูกกว่าสื่อประเภทอื่นๆ ใช้งานได้สะดวก เก็บรักษาง่าย สามารถนำมาผสานกันกับความรู้ใหม่หรือขยายความรู้เดิม ซึ่งจะใช้เรียนในขั้นต่อไป
         
        ผลที่เกิดกับผู้เรียน
             ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหามาก ยิ่งขึ้นและสามารถพัฒนาให้เป็นระบบ ช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นร่วมกัน ช่วยอธิบายสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น และช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าการฟังบรรยายเพียงอย่างเดียว
          
        จุดเด่นของสื่อ
        1. สามารถอ่านซ้ำทบทวนหรืออ้างอิงได้
        2. เป็นการเรียนรู้ที่ดีให้ผู้เรียนสนใจ
        3. เป็นการกระตุ้นให้รักการอ่าน
        4. ราคาถูก จัดหาง่าย
        5. ใช้ร่วมกับสื่อชนิดอื่นๆ ได้
        6. ใช้กับกระบวนการเรียนการสอนได้ทุกขั้นตอน
        จุดด้อยของสื่อ 
        1. การออกแบบไม่ดีจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้ยาก จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญพิเศษในการผลิต
        2. ถ้าสื่อมีขนาดเล็กจะไม่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายขนาดใหญ่ 
        3. ทำให้ฉีกขาดง่าย (การใช้งานต้องใช้อย่างระมัดระวัง)