สื่อสิ่งพิมพ์



ความหมาย
     พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายคำที่เกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ไว้ว่า “สิ่ง พิมพ์ หมายถึง สมุด แผ่นกระดาษ หรือวัตถุใด ๆ ที่พิมพ์ขึ้น รวมตลอดทั้งบทเพลง แผนที่ แผนผัง แผนภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี ใบประกาศ แผ่นเสียง หรือสิ่งอื่นใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกัน”


ลักษณะเฉพาะ
  1. สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่มีความคงทนถาวร
  2. สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่สามารถเปิดอ่านได้ทุกที่ทุกเวลา
  3. สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่มีความสะดวกสบายต่อการพกพาไปตามสถานที่ต่างๆ
  4. สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่มีเนื้อหาสาระละเอียดมากกว่าสื่ออื่น
  5. สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อทีสามารถใช้เป็นหลักฐานและตรวจสอบข้อเท็จจริงได้
  6. สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่สามรถนำมาทบทวนหรืออ่านกี่รอบก็ได้
  7. สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่ช่วยให้ผู้อ่านสร้างจินตนาการ
คุณสมบัติ
  1. ใช้ประกอบคำบรรยายในการสอน
  2. ช่วยเป็นแนวทางในการกำหนดเนื้อหาในรูปแบบเดียวกัน
  3. ช่วยให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าได้ตลอดเวลาที่ต้องการและใช้เป็นหลักฐานทางวิชาการ
  4. เป็นสื่อพื้นฐานทางด้านการเรียนการสอน
  5. ใช้เป็นสื่อเพื่อการเผยแพร่โฆษณาประชาสัมพันธ์
สถานการณ์ที่เหมาะสมในการใช้สื่อ
  1. ใช้สื่อสิ่งพิมพ์ในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ทั้งนี้เพื่อเร้าผู้เรียนให้เกิดความสนใจ และเปลี่ยนพฤติกรรมในเบื้องต้น โดยปรับตนเองให้พร้อมที่จะเรียนรู้บทเรียนใหม่ ซึ่งอาจกระทำได้โดยการรื้อฟื้นความรู้เดิม (assimilation) หรือขยายความรู้เดิม (accommodation) เพื่อนำมาใช้ให้ประสานกันกับความรู้ใหม่ ซึ่งจะเรียนในขั้นต่อไป
  2. ใช้สื่อสิ่งพิมพ์ในขั้นประกอบการสอนหรือขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อ ช่วยให้ความกระจ่างในเนื้อหาที่เรียนหรือทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและเข้าใจข้อเท็จจริงในเนื้อหาอย่างแท้จริงในรูปของการ เกิด Concept เข้าใจหลักการสำคัญ และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในแนวทางที่ดีขึ้นตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ที่ได้กำหนดไว้ 
ข้อบ่งใช้  / วิธีการใช้สื่อ 
  1. ขั้นเลือกสื่อ การเลือกสื่อให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์ และเลือกสื่อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ 
  2. ขั้นเตรียม ควรจัดเตรียมข้อมูลและเนื้อหาล่วงหน้า
  3. ขั้นใช้สื่อ ให้ผู้สอนใช้นำเข้าสู่บทเรียน และประกอบการอธิบายรายละเอียดของเนื้อหาของเรื่องที่สอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้ เรียนสนใจ และอยากค้นคว้าศึกษาเพิ่มเติม 
  4. ขั้นสรุป ให้ผู้เรียนเป็นผู้สรุป เพื่อประเมินว่าผู้เรียนมีความเข้าใจในบทเรียนนั้นๆ มากน้อยเพียงใด
ผลที่เกิดกับผู้ใช้สื่อ 
     สามารถผลิตได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องอาศัยความชำนาญ ต้นทุน การผลิตถูกกว่าสื่อประเภทอื่นๆ ใช้งานได้สะดวก เก็บรักษาง่าย สามารถนำมาผสานกันกับความรู้ใหม่หรือขยายความรู้เดิม ซึ่งจะใช้เรียนในขั้นต่อไป
 
ผลที่เกิดกับผู้เรียน
     ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหามาก ยิ่งขึ้นและสามารถพัฒนาให้เป็นระบบ ช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นร่วมกัน ช่วยอธิบายสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น และช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าการฟังบรรยายเพียงอย่างเดียว
  
จุดเด่นของสื่อ
  1. สามารถอ่านซ้ำทบทวนหรืออ้างอิงได้
  2. เป็นการเรียนรู้ที่ดีให้ผู้เรียนสนใจ
  3. เป็นการกระตุ้นให้รักการอ่าน
  4. ราคาถูก จัดหาง่าย
  5. ใช้ร่วมกับสื่อชนิดอื่นๆ ได้
  6. ใช้กับกระบวนการเรียนการสอนได้ทุกขั้นตอน
จุดด้อยของสื่อ 
  1. การออกแบบไม่ดีจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้ยาก จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญพิเศษในการผลิต
  2. ถ้าสื่อมีขนาดเล็กจะไม่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายขนาดใหญ่ 
  3. ทำให้ฉีกขาดง่าย (การใช้งานต้องใช้อย่างระมัดระวัง)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น