สื่อประเภทกิจกรรม

ความหมาย
     กระบวนการเรียนการสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการลงมือกระทำ สื่อการสอนมีความหมายกว้างขวาง ครอบคลุมทั้งวัสดุอุปกรณ์ และวิธีการต่างๆ ที่นำเอามาใช้ เพื่อถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ให้กับผู้เรียน กิจกรรม หรือวิธีการ นำเป็นสื่อการสอนที่มีกายภาพสูงต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้บทเรียนดำเนินไปอย่างสนุกสนาน


ลักษณะเฉพาะ
  1. เป็นสื่อประเภทที่ต้องใช้การฟัง การดู การสัมผัสแตะต้อง 
  2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นๆ เพื่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สมบูรณ์ 
  3. เป็นสื่อที่ต้องมีการวางแผนหรือเตรียมการ เพื่อลำดับไปตามขั้นตอน ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจได้ง่าย ชัดเจน 
  4. เป็นสื่อที่ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งวิทยากรโดยตรง 
  5. เป็นสื่อลักษณะรูปธรรม
คุณสมบัติ
  1. ได้รับประสบการณ์ตรง
  2. เข้าใจง่าย
  3. สนุกสนาน น่าสนใจ
  4. ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ชัดเจน
  5. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
  6. ฝึกให้คิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและการตัดสินใจ 
สภาพการณ์ที่เหมาะสมในการใช้สื่อ
  1. จะใช้สื่อกิจกรรมเมื่อเข้าสู่บทเรียนที่มีเนื้อหาซับซ้อน เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาง่ายยิ่งขึ้น
  2. ใช้สื่อกิจกรรมเมื่อผู้เรียนเกิดความสนใจ อยากเรียนรู้
  3. ใช้สื่อกิจกรรมเมื่อมีเวลาและสถานที่ที่เหมาะสมต่อกิจกรรม
ข้อบ่งใช้ / วิธีการใช้สื่อ 
  1. ใช้สื่อให้เหมาะสมกับ เนื้อหา ระดับสติปัญญา และตามจุดประสงค์การเรียนรู้
  2. ใช้สื่อที่ไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย
  3. ใช้สื่อกิจกรรมให้เหมาะสมกับเวลา
ผลที่เกิดกับผู้ใช้สื่อ
  1. ผู้สอนสามารถสรุปเนื้อหาจากสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่ายขึ้น
  2. ผู้เรียนสามารถรับรู้ข้อมูล ข้อความต่างๆได้พร้อมและเหมือนกัน
  3. ส่งเสริมสนับสนุนการทำงานเป็นทีม ซึ่งมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากกว่าการทำงานเดี่ยว
  4. กิจกรรมช่วยดึงดูดความสนใจจากผู้เรียน
  5. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีโอกาสฝึกทักษะการสื่อสาร การแก้ปัญหา การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การหาข้อมูลสรุปเมื่อมีความขัดแย้ง
ผลที่เกิดกับผู้เรียน
  1. กิจกรรมจะเป็นทางการนำความรู้จากหลายวิชามาบูรณาการ ทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในทางการศึกษา
  2. ผู้เรียนสามารถลดความตึงเครียดในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
  3. ฝึกให้ผู้เรียนกล้าแสดงออกมากขึ้น
  4. กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมมากยิ่งขึ้น
  5. รู้จักคิดวิเคราะห์ วิจารณ์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และฝึกฝนแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
  6. ไม่เบื่อหน่ายในการเรียน
จุดเด่นของสื่อ
  1. ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง และเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม
  2. เป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน มีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูง
  3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนฝึกทักษะในด้านต่างๆ เช่น การพูด การแสดงออก ฯลฯ
  4. เป็นวิธีสอนที่ไม่จำกัดผู้เรียน
  5. ดึงดูดความสนใจจากผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
  6. เป็นวิธีสอนที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์
  7. เป็นวิธีสอนที่ทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหา ที่มีความซับซ้อนได้ง่ายขึ้น
  8. เป็นวิธีสอนที่ฝึกให้ผู้เรียนเคารพในกฎกติกาของแต่ละกิจกรรม
  9. ทำให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน
จุดด้อยของสื่อ
  1. กิจกรรมการสอนใช้เวลาจัดกิจกรรมนานมาก
  2. เป็นวิธีสอนที่มีค่าใช้จ่ายสูง
  3. ผู้สอนต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมนั้นๆ เป็นอย่างดี
  4. เป็นวิธีสอนที่มีการประเมินผู้เรียนยากกว่าวิธีการสอนแบบอื่นๆ
  5. เป็นวิธีสอนที่ใช้พื้นที่ในการจัดกิจกรรมมากเป็นพิเศษ 

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น